การศึกษาแนวทางการออกแบบอาคารแบบเตี้ยและสภาพแวดล้อมสำหรับผู้สูงอายุ: กรณีศึกษาอาคารพักอาศัยรวมโครงการ ลุมพินีวิลล์ราชพฤกษ์-บางแวก

Last modified: November 30, 2022
You are here:
Estimated reading time: 2 min
หัวข้อสารนิพนธ์:
Project Title:
การศึกษาแนวทางการออกแบบอาคารแบบเตี้ยและสภาพแวดล้อมสำหรับผู้สูงอายุ: กรณีศึกษาอาคารพักอาศัยรวมโครงการ ลุมพินีวิลล์ราชพฤกษ์-บางแวก
Low-Rise Building Design Guidelines and Environmental Conditions for the Elderly: A Case Study of the Residential Building Project at Lumpini Ville Ratchapruek – Bang Waek
ชื่อนักศึกษา:
Author:
นายฤชานนท์ สุขสมชล
Mr. Ruchanon Suksomchon 
อาจารย์ที่ปรึกษา:
Advisor:
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เฉลิมเกียรติ วงศ์วนิชทวี
Asst. Prof. Dr. Chalermkiat Wongvanichtawee
ระดับการศึกษา:
Degree:
วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (วศ.ม.)
Master of Engineering in Engineering Management
สาขาวิชา:
Major:
การจัดการงานวิศวกรรม
Engineering Management
คณะ:
Faculty:
บัณฑิตวิทยาลัย
Graduate Schools
ปีการศึกษา:
Academic year:
2563
2020
URL:
Published แหล่งเผยแพร่ผลงาน
แหล่งเผยแพร่ผลงาน
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครั้งที่ 11 ประจำปี 2563 (The 11th National Conference of Industrial Operations Development 2020) คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ กรุงเทพฯ วันศุกร์ที่ 24 เมษายน 2563

การอ้างอิง|Citation

ฤชานนท์ สุขสมชล. (2563). การศึกษาแนวทางการออกแบบอาคารแบบเตี้ยและสภาพแวดล้อมสำหรับผู้สูงอายุ: กรณีศึกษาอาคารพักอาศัยรวมโครงการ ลุมพินีวิลล์ราชพฤกษ์-บางแวก. (การค้นคว้าอิสระวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสยาม.

Suksomchon R. (2020). CLow-Rise building design guidelines and environmental conditions for the elderly: A case study of the residential building project at Lumpini Ville Ratchapruek – Bang Waek. (Master Independent Study). Bangkok: Siam University.


บทคัดย่อ

ประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ อีกทั้งในปัจจุบันมีแนวโน้มของการลดขนาดครอบครัวลง ทำให้ผู้สูงอายุต้องอยู่ลำพัง และต้องเตรียมความพร้อมด้านสุขภาพ โดยเฉพาะด้านรายได้และหลักประกันต่าง ๆ ปัจจุบันมีทางเลือกสำหรับการอยู่อาศัยของผู้สูงอายุหลายรูปแบบ เช่นบ้าน คอนโดมิเนียม และที่พักสำหรับผู้สูงอายุแบบครบวงจร ดังนั้น จึงจำเป็นที่ต้องมีการเตรียมความพร้อมและวางแผนที่เหมาะสมในอนาคต การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุ รวมทั้งแนวทางการออกแบบที่พักอาศัยแบบอาคารเตี้ย และสภาพแวดล้อมสำหรับผู้สูงอายุเพื่อเป็นทางเลือกในการใช้ชีวิตหลังเกษียณหรือช่วงสูงวัยให้เหมาะสมตรงกับความต้องการ โดยวิธีการดำเนินการศึกษาเริ่มต้นจากค้นคว้าเอกสาร การวิเคราะห์ข้อมูลทุติยภูมิที่เกี่ยวข้อง การสนทนากลุ่ม และการสัมภาษณ์เชิงลึก ผลการศึกษาพบว่าแนวทางการออกแบบต้องให้ความสำคัญไม่เฉพาะด้านกายภาพ แต่จะต้องเน้นความเป็นชุมชนแห่งความปลอดภัย ความสะดวกสบายในการใช้ชีวิต รวมถึงกิจกรรมที่สร้างคุณค่าทางจิตใจ เนื่องจากผู้สูงอายุมักมีการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายหลาย ๆ ด้าน ดังนั้น การออกแบบที่อยู่อาศัยให้เหมาะสมจึงเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อให้ผู้สูงอายุสามารถทำกิจวัตรประจำวันได้อย่างสะดวกปลอดภัย ช่วยลดความเสี่ยงต่อการลื่นล้มและป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นได้ทุกเวลา ทั้งนี้ การออกแบบที่พักอาศัยสำหรับผู้สูงอายุควรให้ความสำคัญตั้งแต่โครงสร้าง การตกแต่ง การจัดวาง หรือการติดตั้งอุปกรณ์อำนวยความสะดวกต่าง ๆ เพื่อรองรับความเสื่อมถอยของร่างกาย โดยเฉพาะในด้านการมองเห็น การได้ยิน การเคลื่อนไหวร่างกาย ความไม่สมดุลของฮอร์โมนและอารมณ์ รวมถึงอาจมีศูนย์กายภาพบำบัดและศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู

คำสำคัญ: สังคมผู้สูงอายุ, แนวทางการออกแบบ, ที่พักอาศัยแบบอาคารเตี้ย, การเคลื่อนไหว


Abstract

Thailand entered an aging society; the number of family members in homes downsized and triggered a trend that positioned the elderly to live alone and forced the need to prepare for personal health and well-being in terms of income and insurance. A variety of accommodation options have been available for the elderly, such as homes, condominiums, and assisted living homes for seniors. With numerous options available, it has become imperative for families to prepare a suitable plan. This study’s objective was to collect information that would help the elderly and provide guidelines for low-rise residential design and environmental conditions for life after retirement that suits their needs. The method of this research focused on analyzing documents from relevant secondary data groups and in-depth interviews. The results found that the design approach must emphasize physical aspects and the community’s safety, convenience, and activities that help maintain mental wellness. There are many physical and mental changes with older age and make it imperative that housing design accommodate these changes. These accommodations should incorporate daily activities to maintain health and alertness and personal safety keep the elderly physically active to help reduce possible slip and falls or any other accidents.

In conclusion, residential design for the elderly should concentrate on structure, decoration, and the placement and installation of a variety of amenities that assist with the prevention of body and muscular deterioration. The physical and health-related areas should be concentrated on vision, hearing, and physical movement and can include physical therapy or rehabilitation centers. The environment should be ergonomic and harmonious with the natural living condition to promote wellness and safe, healthy living space.

Keywords:  aging society, design guidelines, low-rise housing, health.


การศึกษาแนวทางการออกแบบอาคารแบบเตี้ยและสภาพแวดล้อมสำหรับผู้สูงอายุ: กรณีศึกษาอาคารพักอาศัยรวมโครงการ ลุมพินีวิลล์ราชพฤกษ์-บางแวก | Low-Rise Building Design Guidelines and Environmental Conditions for the Elderly

Master of Engineering in Engineering Management, Siam University, Bangkok, Thailand

Related

Tags:
Was this article helpful? บทความนี้เป็นประโยชน์หรือไม่?
ไม่ / Dislike 0
Views: 232
Facebook
Twitter
LinkedIn
WhatsApp
Email
Print

QR code for article

QR Code