- KB Home
- หลักสูตรปริญญาตรี|Bachelor Degree
- คณะวิศวกรรมศาสตร์
- -สาขาวิศวกรรมเครื่องกล
- การสร้างและทดสอบปั๊มลมจากคอมเพรสเซอร์ตู้เย็น
ชื่อโครงงาน: Project Title: |
การสร้างและทดสอบปั๊มลมจากคอมเพรสเซอร์ตู้เย็น Creation and Testing of Air Compressors built from old Refrigerator Parts |
ชื่อนักศึกษา: Author: |
นายวัชระ อุกอาจ Mr. Watchara Aukart |
อาจารย์ที่ปรึกษา: Advisor: |
ดร.ชาญชัย วิรุณฤทธิชัย Dr. Chanchai Wiroonritichai |
ระดับการศึกษา: Degree: |
วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วศ.บ.) Bachelor of Engineering |
ภาควิชา: Major: |
วิศวกรรมเครื่องกล Mechanical Engineering |
คณะ: Faculty: |
วิศวกรรมศาสตร์ Engineering |
ภาคการศึกษา/ปีการศึกษา: Semester / Academic year: |
3/2561 3/2018 |
การอ้างอิง/citation
วัชระ อุกอาจ. (2561). การสร้างและทดสอบปั๊มลมจากคอมเพรสเซอร์ตู้เย็น. (สหกิจศึกษา). กรุงเทพฯ: วิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม.
บทคัดย่อ
เนื่องจากลักษณะงานที่ทางผู้จัดทำดูแลรับผิดชอบอยู่นั้นจะเกี่ยวข้องกับระบบต่างๆภายในอาคารสูงและจากการตรวจสอบของทางผู้จัดทำพบว่าภายในอาคารที่ผู้จัดทำรับผิดชอบอยู่นั้นยังไม่มีปั๊มลมไว้ใช้งาน ทางผู้จัดทำจึงมีแนวคิดที่จะทำการสร้างปั๊มลมไว้ใช้งานเองภายในอาคาร โดยที่จะทำการสร้างจากคอมเพรสเซอร์ตู้เย็นที่ไม่ได้ใช้งานแล้ว การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทำการสร้างและทดสอบปั๊มลมจากคอมเพรสเซอร์ตู้เย็น โดยใช้คอมเพรสเซอร์ตู้เย็นไปแทนที่ปั๊มลม ซึ่งสามารถสร้างแรงดันลมเพื่อไปใช้ประโยชน์ได้ เช่น การเติมลมในถังของระบบบูสเตอร์ปั๊ม การเติมลมยางรถจักรยานยนต์ และใช้ในการเป่าสิ่งสกปรกของกรองเครื่องปรับอากาศ โดยเลือกใช้วิธีการสร้างจากวัสดุเหลือใช้ เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการสร้างชิ้นงาน และสามารถนำไปใช้งานนอกสถานที่ได้อย่างสะดวก ซึ่งทำให้ไม่ต้องไปซื้อปั๊มลมแบบสำเร็จรูปตามร้านค้าที่มีราคาสูง
ผลจากการศึกษาผลของการสร้างและทดสอบปั๊มลมจากคอมเพรสเซอร์ตู้เย็น พบว่าขณะที่คอมเพรสเซอร์ทำงานจะมีเสียงที่เบากว่าปั๊มลมสำเร็จรูป ปริมาณอากาศอัดที่ผลิตได้อยู่ที่ 0.15 ลิตรต่อวินาที, ประสิทธิภาพเครื่องอัดอากาศอยู่ที่ 2.14 ลิตรต่อวินาทีต่อกิโลวัตต์, ค่าใช้จ่ายพลังงานไฟฟ้า(ต่อเดือน) อยู่ที่ 9.82 บาทต่อเดือน หากคอมเพรสเซอร์ชำรุดจะสามารถเปลี่ยนคอมเพรสเซอร์ใหม่ได้เสมอและราคาในการสร้างชิ้นงานนั้นจะถูกกว่าการซื้อปั๊มลมตามร้านค้าถึง 50% หรือ 1,500 บาท
คำสำคัญ: คอมเพรสเซอร์, ปั๊มลม, ประสิทธิภาพเครื่องอัดอากาศ
Abstract
The work of the organizer was responsible for various systems with high-rise buildings. From the inspections, we found the building does not have an air compressor to use so, the producer had the idea to create an air compressor for use from unused refrigerator compressors. This case study objectives used a refrigerator compressor to replace the air compressor, which can create air pressure to be useful for the booster pump system, in late motorcycle tires, and for use to blow the dirt of the air conditioner filter. By choosing to create from waste materials helped to reduce the cost of work and can be conveniently used outside, which eliminates the need to buy air compressors at high prices.
The results from the case study found out while the compressor was working had a lower sound than the air compressor. The amount of air produced was O.15 liters per second, the efficiency of the air compressor was 2.14 liters per second per kilowatt, the electric energy cost (per month) was 9.82 Baht per month. If the compressor has damage, it can always be replaced and the cost of creating the workpiece was cheaper than buying a new air compressor at the shop 50% more or 1,500 Baht.
Keywords: Compressor, Air Compressor, Air Eficiency.
การสร้างและทดสอบปั๊มลมจากคอมเพรสเซอร์ตู้เย็น / Creation and Testing of Air Compressors built from old Refrigerator Parts
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม | Faculty of Engineering, Siam University, Bangkok, Thailand
Related by advisor:
- การตรวจสอบและปรับปรุงข้อผิดพลาดในระบบท่อดับเพลิง: กรณีบริษัท ไพโอเนียร์ โลจิสติกส์ จำกัด
- การสร้างเครื่องสูบน้ำจากวัสดุเหลือใช้
- การหาค่าความปลอดภัยของท่อทองแดงในระบบก๊าซทางการแพทย์ กรณีศึกษา สถานีกาชาดที่ 11
- วิศวกรรมย้อนรอยสำหรับการสร้างเสาสัญญาณวิทยุสื่อสาร
- การศึกษาเปรียบเทียบการออกแบบระบบท่อประปาโดยใช้ท่อพีวีซีและท่อพีพีอาร์ในโครงการโรงเรียนนานาชาติคอนคอร์เดียน
- การศึกษาภาระการทำความเย็นที่เหมาะสมของชั้นสูงสุด: กรณีศึกษาโครงการ แบงค์คอก เฟ’ลิซ สถานีบางแค
- การลดค่าใช้จ่ายในการติดตั้งระบบท่อน้าประปาและท่อน้าร้อน: กรณีศึกษาโครงการ สินธรวิลเลจ ตึก (เอพี-ดับบลิว)
- การกระจายตัวอุณหภูมิของผนังตู้รับส่งสัญญาณ
- การลดค่าใช้จ่ายในการติดตั้งระบบท่อน้าโสโครก ท่อระบายน้าทิ้งและท่ออากาศ: กรณีศึกษาโครงการ สินธรวิลเลจ ตึก (เอพี-ดับบลิว)