การพัฒนาระบบการรับฝากพัสดุของพนักงานต้อนรับส่วนหน้าด้วย QR-Code

Last modified: October 27, 2021
You are here:
Estimated reading time: 1 min
ชื่อโครงงาน:
Project Title:
การพัฒนาระบบการรับฝากพัสดุของพนักงานต้อนรับส่วนหน้าด้วย QR-Code
The Development of Temporary Deposit Services Based on QR-Code Technology
ชื่อนักศึกษา:
Author:
นายอภิชัย อังศุกลธร
Mr. Aphichai  Ungsakunthorn
อาจารย์ที่ปรึกษา:
Advisor:
ดร. นันทิรา ภูขาว สนใจ
Dr. Nantira Pookhao Sonjai
ระดับการศึกษา:
Degree:
ศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.)
Bachelor of Arts (Liberal Arts)
ภาควิชา:
Major:
อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการบริการ
Tourism and Hospitality Industry
คณะ:
Faculty:
ศิลปศาสตร์
Liberal Arts
ภาคการศึกษา/ปีการศึกษา:
Semester / Academic year:
3/2563
3/2020

การอ้างอิง/Citation

อภิชัย อังศุกลธร. (2563). การพัฒนาระบบการรับฝากพัสดุของพนักงานต้อนรับส่วนหน้าด้วย QR-Code. (สหกิจศึกษา). กรุงเทพฯ: คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม.

Ungsakunthorn A. (2020). The development of temporary deposit services based on QR-Code technology. (Cooperative Education). Bangkok: Faculty of Liberal Arts, Siam University.


บทคัดย่อ

     โครงงานการพัฒนาระบบการรับฝากพัสดุของพนักงานต้อนรับส่วนหน้ามีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากระบวนการจัดเก็บและบันทึกข้อมูลการรับฝากพัสดุของพนักงานต้อนรับส่วนหน้า 2) นำเทคโนโลยี QR-Code มาพัฒนาระบบการจัดเก็บข้อมูล การรับฝากพัสดุของพนักงานต้อนรับส่วนหน้า จากการพัฒนาระบบการรับฝากพัสดุ ทำให้พนักงานต้อนรับส่วนหน้าสามารถลดข้อผิดพลาดในการทำงานเกี่ยวกับการจัดเก็บข้อมูลและการรับฝากพัสดุ และสามารถเข้าถึงข้อมูลการรับฝากพัสดุของแผนกต้อนรับส่วนหน้าได้ง่าย และรวดเร็วยิ่งขึ้น

จากการวิเคราะห์กลุ่มตัวอย่างผู้ใช้งานระบบการรับฝากพัสดุ จำนวน 13 คน พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่ตอบแบบสอบถามมีลักษณะทางประชากรศาสตร์เป็นเพศชายมากกว่าเพศหญิง โดยเป็นประชากรเพศชาย คิดเป็นร้อยละ 61.54 อยู่ในช่วงอายุระหว่าง 21-30 ปีมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 46.15 อยู่ในส่วนงานพนักงานยกกระเป๋ามากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 53.85 ของกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด ด้านความพึงพอใจผู้ตอบแบบสอบถามมีความพึงพอใจในภาพรวมเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ที่ค่าเฉลี่ย 4.44 และมีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.63 ผู้ตอบแบบสอบถามพึงพอใจเรื่องการจัดเก็บ / บันทึกข้อมูล และด้านการเข้าถึงข้อมูลมากที่สุด รองลงมาพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามพึงพอใจด้านภาพรวมการใช้งานในระดับมาก โดยไม่มีผู้ตอบแบบสอบถามให้คะแนนระดับความพึงพอใจต่ำกว่าระดับมากเลยในทุกประเด็น

คำสำคัญ: ระบบการจัดเก็บข้อมูล, เทคโนโลยี QR-Code, การรับฝากพัสดุ


Abstract

The project aimed to: 1) study process of storing and recording temporary deposit services of front office department and; 2) use QR-Code technology to develop a data storage system of temporary deposit services of front office department. Due to the development of temporary deposit services of this project, the front office department could reduce mistakes in relation to recorded parcel information and deposit services. Moreover, the front office staff could straightforwardly and rapidly access parcel information.

From the analysis of the sample consisting of 13 receptionist of temporary deposit services, the results demonstrated that the demographic characteristic of the questionnaire respondents were more male than female. This was indicated as 61.54 percent of the respondents were male and majority of the respondents; 46.15 percent were 21-30 years old; 53.85 percent of the respondents were porters. According to the level of respondents’ satisfaction, overall satisfaction towards this project was very high, with a mean of 4.44 and a standard deviation of 0.63. The respondents were highly satisfied with the aspects of data storage/recording and data accessibility the most. Secondly, they were satisfied with the overall usage of temporary deposit services listed at a high level of satisfaction. None of the respondents scored their satisfaction level lower than the high level in all aspects.

Keywords:  Data storage system, QR-Code technology, Temporary deposit services.


การพัฒนาระบบการรับฝากพัสดุของพนักงานต้อนรับส่วนหน้าด้วย QR-Code | The Development of Temporary Deposit Services Based on QR-Code Technology  

Faculty of Liberal Arts, Siam University, Bangkok, Thailand

Related

Tags:
Was this article helpful? บทความนี้เป็นประโยชน์หรือไม่?
ไม่ / Dislike 0
Views: 197
Facebook
Twitter
LinkedIn
WhatsApp
Email
Print