ถ่านดูดกลิ่นจากเปลือกผลไม้

Last modified: February 4, 2020
Estimated reading time: 1 min
ชื่อโครงงาน:
Project Title:
ถ่านดูดกลิ่นจากเปลือกผลไม้
Charcoal Deodorizer
ชื่อนักศึกษา:
Author:
นายปัธวี  ปรีดาวงศากร
Mr. Pattavee  Predawongsakorn
อาจารย์ที่ปรึกษา:
Advisor:
อาจารย์ปิยธิดา  กังวานสิทธิ์
Ms. Piyatida Kungwansith
ระดับการศึกษา:
Degree:
ศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.)
Bachelor of Arts (Liberal Arts)
ภาควิชา:
Major:
อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการบริการ
Tourism and Hospitality Industry
คณะ:
Faculty:
ศิลปศาสตร์
Liberal Arts
ภาคการศึกษา/ปีการศึกษา:
Semester / Academic year:
3/2561
3/2018

การอ้างอิง/citation

ปัธวี  ปรีดาวงศากร. (2561). ถ่านดูดกลิ่นจากเปลือกผลไม้. (สหกิจศึกษา). กรุงเทพฯ: คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม.


บทคัดย่อ

จากการที่ได้เข้าปฏิบัติงานสหกิจศึกษา ณ โรงแรม ชาเทรียม เรสซิเดนซ์ สาทร กรุงเทพฯแผนกอาหารเละเครื่องดื่ม จึงเล็งเห็นปัญหาเรื่อง ตู้เย็นเก็บอาหารสดมีกลิ่นอับ ผู้จัดทำจึงได้ศึกษาวิธีกำจัดกลิ่นอันไม่พึงประสงค์ในตู้เย็น พบว่าสามารถนำวัตถุดิบเหลือใช้จากการประกอบอาหารของสถานประกอบการมาทำถ่านดับกลิ่นได้ จึงมีความคิดเห็นในจัดทำโครงงานเรื่อง ถ่านดับกลิ่นจากเปลือกผลไม้ ด้วยวัตถุประสงค์เพื่อแก้ไขปัญหากลิ่นอันไม่พึงประสงค์ของตู้เย็นในแผนกครัวที่สถานประกอบการ และเพื่อแก้ไขปัญหาขยะจากเปลือกผลไม้ที่เหลือใช้ จากการศึกษาเกี่ยวกับถ่านเปลือกผลไม้ ผู้จัดทำได้ผลิตถ่านจากวัสดุเหลือใช้ในสถานประกอบการและนำไปทดลอง โดยนำเปลือกทุเรียนและซังข้าวโพดไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ถ่านดูดกลิ่น และนำมาวางในตู้เย็นเพื่อดับกลิ่น โดยทำการสังเกตทุกวัน ได้ข้อสรุปว่าถ่านที่สามารถดูดกลิ่นได้ดี คือ ถ่านเปลือกทุเรียน

หลังจากที่ได้ทำการทดลองทำผลิตภัณฑ์ถ่านดูดกลิ่นจากเปลือกผลไม้ ผู้จัดทำได้สำรวจความคิดเห็นโดยการทำแบบสอบถามความพึงพอใจ จากกลุ่มตัวอย่างคือ พนักงานภายในโรงแรม จำนวน 30 คน เพื่อให้ทราบถึงผลของโครงงาน ผลการศึกษาพบว่า จากการประเมินแบบสอบถาม แผนกอาหารและเครื่องดื่ม, แผนกแม่บ้าน และแผนกครัว มีความพึงพอใจ โดยรวมมีค่าเฉลี่ย 𝑥̅ = 3.97 และ S.D = 0.90 ได้แก่ ความพึงพอใจด้านต้นทุน, ความพึงพอใจด้านประสิทธิภาพ และความพึงพอใจด้านผลิตภัณฑ์ ตามลำดับ ดังนั้นจึงเห็นได้ว่าโครงงานถ่านดูดกลิ่นจากเปลือกผลไม้มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก

คำสำคัญ: ถ่านดูดกลิ่น, เปลือกผลไม้, ทุเรียน


Abstract

After working in cooperative education at Chatrium Residence Sathon Bangkok in the Food and Beverage Department, the author saw a problem with the refrigerator, the fresh food smelled musty. Therefore, the organizer has studied ways to get rid of unwanted odors in the refrigerator. It was found that waste materials from the establishment’s cooking could be used make charcoal deodorizer. The organizer had an opinion to create a project on charcoal deodorizer from fruit peels. The objectives were to solve the problem of unwanted odor in the refrigerator in the kitchen department at the establishment and to solve the problem of waste from fruit peels left over. The organizer produced charcoal from waste materials in the workplace and then experimented with the transformation of durian peel and corncobs into charcoal deodorizer. They were put it in the refrigerator to deodorize and observing daily. In conclusion, the charcoal that could absorb odor the best was charcoal from Durian rind.

After experimenting with making charcoal deodorizer from fruit peels, the organizers conducted a survey by a satisfaction questionnaire from a sample of 30 hotel staff in order to know the outcome of the project. The results of the study showed that, from the evaluation of the questionnaires in the food and beverage department, housekeeper department and kitchen department, have an overall satisfaction with a mean of 𝑥𝑥̅ = 3.97 and SD = 0.90 which are cost satisfaction, performance satisfaction and product satisfaction, respectively. Therefore, it could be seen that the charcoal deodorizer from fruit peels satisfaction was in a high level.

Keywords:  Charcoal deodorizer, Fruit peel, Durian.


ถ่านดูดกลิ่นจากเปลือกผลไม้ / Charcoal Deodorizer

Faculty of Liberal Arts, Siam University, Bangkok, Thailand

Related by advisor:

Tags:
Was this article helpful? บทความนี้เป็นประโยชน์หรือไม่?
ไม่ / Dislike 0
Views: 9674
Facebook
Twitter
LinkedIn
WhatsApp
Email
Print