การตัดสินใจซื้อผักจากเกษตรกรบางน้อยที่ปากคลองตลาด กรุงเทพมหานคร

Last modified: December 24, 2021
You are here:
Estimated reading time: 2 min
หัวข้อสารนิพนธ์:
Project Title:
การตัดสินใจซื้อผักจากเกษตรกรบางน้อยที่ปากคลองตลาด กรุงเทพมหานคร
The Purchasing Decision of Buying Vegetables from Bang Noi’s farmer at Pak Khlong Market, Bangkok
ชื่อนักศึกษา:
Author:
นางสาวศิริลักษณ์ พึ่งสมยา
Miss Siriluk Phuengsomya
อาจารย์ที่ปรึกษา:
Advisor:
ดร. รุ่งโรจน์ สงสระบุญ
Dr. Rungroje Songsraboon
ระดับการศึกษา:
Degree:
บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (บธ.ม.)
Master of Business Administration
สาขาวิชา:
Major:
การตลาด
General Management
คณะ:
Faculty:
บัณฑิตวิทยาลัย
Graduate Schools
ปีการศึกษา:
Academic year:
2564
2021
URL:
Published แหล่งเผยแพร่ผลงาน
Conference
Conference Proceedings
National and International Academic Conference “Innovation and Management for Sustainability” 9-10 July 2020

การอ้างอิง/Citation

ศิริลักษณ์ พึ่งสมยา. (2564). การตัดสินใจซื้อผักจากเกษตรกรบางน้อยที่ปากคลองตลาด กรุงเทพมหานคร. (การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสยาม.

Phuengsomya S. (2021). The purchasing decision of buying vegetables from Bang Noi’s farmer at Pak Khlong Market, Bangkok. (Master Independent Study). Bangkok: Siam University.


บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ของงานวิจัยครั้งนี้ คือ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อผักจากเกษตรกรบางน้อย 2) เพื่อศึกษาลักษณะการตัดสินใจซื้อผักจากเกษตรกรบางน้อยของผู้ค้าผักที่ปากคลองตลาด กรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ ผู้ค้าผักที่ปากคลองตลาด กรุงเทพมหานคร จำนวน 243 ตัวอย่าง จากการสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลใช้แบบสอบถาม สำหรับสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลส่วนบุคคล ได้แก่ ร้อยละ (Percentage) ค่ามัชฌิมเลขคณิต (Arithmetic Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) เพื่ออธิบายให้ทราบถึงระดับการตัดสินใจซื้อผักจากเกษตรกรบางน้อยของผู้ค้าผักที่ปากคลองตลาด กรุงเทพมหานคร และการทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อผักจากเกษตรกรบางน้อย ของผู้ค้าผักที่ปากคลองตลาด กรุงเทพมหานคร โดยใช้สถิติไคสแควร์ (Chi – Square) ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% เพื่อทดสอบสมมุติฐาน

ผลการวิจัยพบว่า ผู้ค้าผักที่ปากคลองตลาดส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย มีอายุระหว่าง 41-50 ปี และมีรายได้ 30,001 – 40,000 บาท ผู้ค้าผักที่ปากคลองตลาด กรุงเทพมหานคร มีระดับการตัดสินใจซื้อผักจากเกษตรกรบางน้อย โดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยผู้ค้าผักที่ปากคลองตลาดมีการตัดสินใจซื้อมากที่สุดในด้านปัจจัยแรงจูงใจ ได้แก่ ความสะดวกในการส่ง คุณภาพผักของเกษตรกรบางน้อย และระยะเวลาในการติดต่อค้าขายกันมานาน รองลงมาคือปัจจัยสุขภาพและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ได้แก่ สินค้ามีความสดใหม่ สินค้าที่บริโภคแล้วดีต่อสุขภาพ เป็นมิตรที่ดีต่อสภาพแวดล้อม และมีการตัดสินใจซื้อน้อยที่สุดในด้านปัจจัยสภาพเศรษฐกิจ ได้แก่ ราคามีความเหมาะสมกับคุณภาพของสินค้า ราคามีความเหมาะสมกับปริมาณของสินค้า ราคามีความเหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า เพศ อายุ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน มีผลต่อการตัดสินใจซื้อผักจากเกษตรกรบางน้อย นอกจากนี้ยังพบว่าปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ ปัจจัยแรงจูงใจ ปัจจัยสุขภาพและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และปัจจัยสภาพเศรษฐกิจ มีผลต่อการตัดสินใจซื้อผักจากเกษตรกรบางน้อยที่ปากคลองตลาด กรุงเทพมหานคร

คำสำคัญ: การตัดสินใจ, ผัก, ปัจจัยส่วนบุคคล


Abstract

The objectives of this research were : 1) to study the personal factors influencing the vendors’ purchasing decision of vegetables from Bang Noi’s farmers; 2) to study the vendors’ decision making styles at Pak Khlong market in buying vegetables from Bang Noi’s farmers. The sample groups used in this study were 243 vegetable vendors at Pak Khlong market, Bangkok. The sampling method used in this study was purposive sampling method, and data were collected by means of a questionnaire. The statistics used in analyzing personal data were percentage, arithmetic mean and standard deviation was used in analyzing the level of decision making styles of the vegetables vendors’ in buying vegetables from the farmers.  Chi-Square statistic at 95% confidence level was used to test the hypothesis and relationship between personal factors that influence the decision to buy vegetables from the farmers.

The results showed that most vegetables vendors at Pak Khlong market were female, aged between 41-50 years, with an average income between 30,001 to 40,000 per month. The level of decision making in buying vegetables from the farmers overall were at a high level. The personal factors that has the highest influence on the vendors’ purchasing decision was the motivation factors, which were convenience of delivery, quality of vegetables and the long term trading between the vendors and the farmers;followed by health and environmentally friendly factors, such as freshness of the products, healthiness and environmental friendly products. The factor that has the least influence on purchasing decision was the economic factor, such as the appropriate price for the quality, the quantity of the product, and suitability for the current economic situation. The hypothesis test result showed that gender, age and average income per month influenced the vegetables vendors’ purchasing decision in buying vegetables from Bang Noi’s farmer. In addition, it was found that personal factors, such as motivation factors, health and environmental friendly factors, and economic factors, had an influence on the vendors’ purchasing decision in buying vegetables from Bang Noi farmers at Pak Khlong market, Bangkok.

Keywords: decision, vegetables, personal factors.


การตัดสินใจซื้อผักจากเกษตรกรบางน้อยที่ปากคลองตลาด กรุงเทพมหานคร| The Purchasing Decision of Buying Vegetables from Bang Noi’s farmer at Pak Khlong Market, Bangkok

Master in Business Administration (MBA), Siam University, Bangkok, Thailand

Related by Advisor

Tags:
Was this article helpful? บทความนี้เป็นประโยชน์หรือไม่?
ไม่ / Dislike 0
Views: 909
Facebook
Twitter
LinkedIn
WhatsApp
Email
Print

QR code for article

QR Code