การศึกษาพฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์ของคนเจนเนอเรชั่นแซด ในยุค New Normal ในกรุงเทพมหานคร

Last modified: January 19, 2022
You are here:
Estimated reading time: 2 min
หัวข้อสารนิพนธ์:
Project Title:
การศึกษาพฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์ของคนเจนเนอเรชั่นแซด ในยุค New Normal ในกรุงเทพมหานคร
A Study of Behavior for Using of Social Media of Generation Z in The New Normal Era in Bangkok
ชื่อนักศึกษา:
Author:
นางสาวณิชกุล เสนาวงษ์
Miss Nichkun Senawong
อาจารย์ที่ปรึกษา:
Advisor:
ดร. ธีติมา ปิยะศิริศิลป์
Dr. Teetima Piyasirisilp
ระดับการศึกษา:
Degree:
บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (บธ.ม.)
Master of Business Administration
สาขาวิชา:
Major:
การตลาด
Marketing Management
คณะ:
Faculty:
บัณฑิตวิทยาลัย
Graduate Schools
ปีการศึกษา:
Academic year:
2564
2021
URL:
Published แหล่งเผยแพร่ผลงาน
Conference
Conference Proceedings
National and International Academic Conference “Innovation and Management for Sustainability” 6-7 July 2020

การอ้างอิง|Citation

ณิชกุล เสนาวงษ์. (2564). การศึกษาพฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์ของคนเจนเนอเรชั่นแซด ในยุค New Normal ในกรุงเทพมหานคร . (การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสยาม.

Senawong N. (2021). A study of behavior for using of social media of Generation Z in the new normal era in Bangkok. (Master’s independent study). Bangkok: Master in Business Administration (MBA), Siam University.


บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์ของคนเจนเนอเรชั่นแซด ในยุค New Normal ในกรุงเทพมหานคร 2) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์ของคนเจนเนอเรชั่นแซด ในยุค New Normal ในกรุงเทพมหานคร 3) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อใช้สื่อสังคมออนไลน์ของคนเจนเนอเรชั่นแซดในยุค New Normal ในกรุงเทพมหานคร โดยกลุ่มตัวอย่างคือ  ประชาชนที่เกิดหลังปี 2540 (กลุ่มคน Generation Z) ซึ่งมีอายุระหว่าง  16 – 24 ปี จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามแบบมีโครงสร้างปลายปิด ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลด้านเพศ อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพที่แตกต่างกันไม่มีผลต่อพฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์ของคนเจนเนอเรชั่นแซด ในยุค New Normal  ทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น 0.05 นอกจากนี้ยังพบว่าปัจจัยที่มีผลต่อสื่อสังคมออนไลน์ของคนเจนเนอเรชั่นแซด ในยุค New Normal อยู่ในระดับมาก และพบว่าปัจจัยด้านการรับรู้ประโยชน์, ปัจจัยด้านการเข้าใจง่ายในการใช้งาน และปัจจัยด้านทัศนคติต่อการใช้งานมีผลต่อพฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์ของคนเจนเนอเรชั่นแซด ในยุค New Normal ที่แตกต่างกันมีผลต่อพฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์ของคนเจนเนอเรชั่นแซด ในยุค New Normal แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

คำสำคัญ : พฤติกรรมการ, สื่อสังคมออนไลน์, เจนเนอเรชั่นแซด, ยุค New Normal


Abstract

The purpose of this study was to study personal factors affecting social media usage behavior, to study level of social media usage behavior and to study the factors affecting social media usage behavior of Generation Z in the New Normal era in Bangkok. The sample group used in the study were 400 people born after 1997 (Generation Z) who were between 16-24 years old in Bangkok. The instrument used was a closed-ended structured questionnaire.

The results of the study found that: 1) The gender, age, education level, and occupations had no effect on social media usage behavior of Generation Z in the New Normal era in Bangkok at the confidence level of 0.05; 2) The factors affecting social media usage behavior of Generation Z in the New Normal era in Bangkok were at a high level; 3) The perceived benefit factor, easily understanding of using factor and attitude towards using of social media factor had different effects on social media usage behavior of Generation Z in the New Normal era in Bangkok at the statistical significance at the 0.05 level.

Keywords: Behavior, Social Media, Generation Z, New Normal Era.


การศึกษาพฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์ของคนเจนเนอเรชั่นแซด ในยุค New Normal ในกรุงเทพมหานคร | A Study of Behavior for Using of Social Media of Generation Z in The New Normal Era in Bangkok

Master in Business Administration (MBA), Siam University, Bangkok, Thailand

Related by Advisor

Tags:
Was this article helpful? บทความนี้เป็นประโยชน์หรือไม่?
ไม่ / Dislike 0
Views: 3678
Facebook
Twitter
LinkedIn
WhatsApp
Email
Print

QR code for article

QR Code