การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างส่วนประสมทางการตลาดและการยอมรับต่อราคาบัตรชมภาพยนตร์

Last modified: April 29, 2021
You are here:
Estimated reading time: 1 min
หัวข้อสารนิพนธ์:
Project Title:
การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างส่วนประสมทางการตลาดและการยอมรับต่อราคาบัตรชมภาพยนตร์
Study of the Relationship Between Marketing Mix and Price Acceptance of Movie Tickets
ชื่อนักศึกษา:
Author:
นางสาวกชนกพร สุขทั้งวงค์
Miss Kochanokporn Souktungwonk
อาจารย์ที่ปรึกษา:
Advisor:
ดร. ธีติมา ปิยะศิริศิลป์
Dr. Teetima Piyasirisilp
ระดับการศึกษา:
Degree:
บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (บธ.ม.)
Master of Business Administration
สาขาวิชา:
Major:
การจัดการทั่วไป
General Management
คณะ:
Faculty:
บัณฑิตวิทยาลัย
Graduate Schools
ปีการศึกษา:
Academic year:
2563
2020
URL:
Published แหล่งเผยแพร่ผลงาน
Conference
Conference Proceedings
2nd National and International Academic Conference “Innovation and Management for Sustainability” 15-16 December 2020

การอ้างอิง/citation

กชนกพร สุขทั้งวงค์. (2563). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างส่วนประสมทางการตลาดและการยอมรับต่อราคาบัตรชมภาพยนตร์. (การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสยาม.


บทคัดย่อ

 การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างส่วนประสมทางการตลาดและการยอมรับต่อราคาบัตรชมภาพยนตร์ ประชากรและกลุ่มตัวอย่างคือผู้บริโภคที่มาใช้บริการโรงภาพยนตร์ จำนวน 416 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที (T-test) การทดสอบความแปรปรวนทางเดียว (One-Way-ANOVA) และวิธีวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ (Multiple Regression Analysis)

ผลการวิจัยพบว่า  ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีความสัมพันธ์ต่อการยอมรับต่อราคาบัตรชมภาพยนตร์ มากที่สุดคือ ปัจจัยด้านช่องทางการจัดจำหน่าย กลุ่มตัวอย่างให้ความสำคัญในด้านช่องทางการซื้อบัตรชมภาพยนตร์ออนไลน์ผ่านแอพพลิเคชั่นมากที่สุด รองลงมาคือด้านบุคคล กลุ่มตัวอย่างให้ความสำคัญในด้านการได้รับคำแนะนำจากบุคคลรอบข้างที่ได้รับชมภาพยนตร์มาก่อนมากที่สุด ด้านการส่งเสริมทางการตลาด กลุ่มตัวอย่างให้ความสำคัญในด้านการจัดส่วนลดในเทศกาลพิเศษมากที่สุด ด้านลักษณะทางกายภาพ กลุ่มตัวอย่างให้ความสำคัญในด้านความสะอาดภายในโรงภาพยนตร์มากที่สุด และด้านผลิตภัณฑ์ กลุ่มตัวอย่างให้ความสำคัญในด้านภาพยนตร์มีความดึงดูดและความน่าสนใจด้านเนื้อหามากที่สุดตามลำดับ อย่างมีนัยยะสำคัญทางสถิติที่ 0.05

คำสำคัญ: การยอมรับต่อราคา, ราคาบัตรชมภาพยนตร์, อุตสาหกรรมภาพยนตร์


Abstract

This research aimed to study the relationship between the marketing mix and the acceptance of movie ticket prices. The population and sample consisted of 416 customers from the movie theaters. The data collection instrument in this research was a questionnaire. The statistics used for data analysis were frequency distribution, percentage, mean, standard deviation, t-test, the one-way test of variance (One-Way-ANOVA), and multiple regression analysis.

The research found that the marketing mix factor that most correlated with movie ticket price acceptance was the distribution channel, followed by the personal factor, marketing promotion, physical characteristics, and the product factor. The online ticket buying channel through the application is the distribution channel that was highly prioritized by the sample group. The findings also showed that the most influential personal factor was the peer’s recommendation, the most attractive marketing promotion was special festival discounts, the most critical physical characteristic was hygiene, and the most important product factor was the stories of the movies, respectively. The results were statistically significant at P< 0.05.

Keyword: Price Acceptance, Movie Ticket Prices, Film Industry.


การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างส่วนประสมทางการตลาดและการยอมรับต่อราคาบัตรชมภาพยนตร์| Study of the Relationship Between Marketing Mix and Price Acceptance of Movie Tickets

Master in Business Administration (MBA), Siam University, Bangkok, Thailand

Related by Advisor

Tags:
Was this article helpful? บทความนี้เป็นประโยชน์หรือไม่?
ไม่ / Dislike 0
Views: 951
Previous: การวิเคราะห์โครงการชำระเงินค่าโดยสารโดยไม่ใช้เงินสดขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ
Next: ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อแรงจูงใจในการเปลี่ยนงานใหม่ของเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์: กรณีศึกษา โรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร
Facebook
Twitter
LinkedIn
WhatsApp
Email
Print

QR code for article

QR Code